สำหรับการดำเนินงานในระบบไฟฟ้า ช่างไฟหลาย ๆ คน ต้องรู้จักกับ สายคอนโทรล เพราะถือว่าเป็นสายไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อระบบวงจร ซึ่งสายไฟก็มีหลากหลายชนิดที่ใช้ในงานระบบไฟฟ้า หนึ่งในนั้นคือ สายคอนโทรล thw ทั้งนี้ เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ชนิดนี้ให้มากขึ้น เพื่อให้ใช้งานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ทั้งต่อตัวผู้ใช้และวงจรระบบไฟฟ้า

            โดยการเลือกใช้ สายคอนโทรล นั้น ก่อนอื่นต้องมาทำความรู้จักก่อนว่า สายแต่ละชนิดมีอะไรและทำหน้าที่อะไรบ้างในวงจรไฟฟ้า

  1. ความหมายของ สายคอนโทรล 
  2. ประเภทของสายคอนโทรลที่ใช้ในงานระบบไฟฟ้า
  3. ปัจจัยที่ทำให้สายไฟฟ้ามีความแตกต่างกัน

ความหมายของ สายคอนโทรล

            สายคอนโทรล หรือ Control Cable นับว่าเป็นสายเคเบิลหรือสายไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ที่ใช้ทองแดงเป็นตัวนำไฟฟ้า ซึ่งลักษณะของตัวสายจะเป็นเส้นฝอยขนาดเล็ก ถูกหุ้มด้วยพลาสติกฟรอยด์ถักทอเป็นฉนวนหุ้ม ซึ่งการใช้งานนั้น โดยส่วนมากแล้วจะนิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างเช่น ที่เกี่ยวกับเครื่องจักร ตลอดจนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ

            อย่างไรก็ตามตัว สายไฟ ที่มีใช้ในปัจจุบันนั้น ก็มีให้เลือกหลากหลายแบบให้ใช้ตามความเหมาะสม ทั้งแบบที่มีชีลด์หุ้มและแบบที่ไม่มีชิลด์หุ้ม ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นประเภทใด ๆ ก็ตาม ก็จะมีความแตกต่างกันเรื่องคุณสมบัติ เช่น การทนทานต่อความร้อน น้ำมัน รวมถึงการป้องกันและทนต่อสารเคมี จึงส่งผลให้ป้องกันการลามไฟได้ ลดความเสียหายและควบคุมวงจรภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            ทั้งนี้ ตัวสายไฟฟ้าที่ใช้ Wiring หรือ สายไวร์ริ่ง (Hook-up Wire) จะต้องเป็นสายอ่อนเพราะสามารถรองรับการโค้งงอได้อย่างดีมากกว่า ที่สำคัญคือ สามารถเลือกได้ใช้งานได้อย่างเหมาะสม ทั้งเรื่องระดับพิกัดแรงดัน อุณหภูมิที่รองรับในการใช้งาน

สายคอนโทรล

ประเภทของสายคอนโทรลที่ใช้ในงานระบบไฟฟ้า

สำหรับตัว สายไฟ ที่ตรงตามมาตรฐานนั้น มีทั้งหมด 3 ประเภทหลัก ๆ โดยอ้างอิงตามมาตรฐาน ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่

  • มอก.11-2553 (เป็นมาตรฐานของไทย รับเอามาจากมาตรฐานระดับนานาชาติ IEC 60227)
  • UL (มาตรฐานอเมริกา)
  • BS EN (มาตรฐานอังกฤษ และยุโรป)

           อย่างไรก็ตาม สำหรับตัวสายไฟฟ้าที่ใช้ในปัจจุบันนี้ เมื่อแยกตามมาตรฐานแล้ว สามารถแยกเฉพาะประเภทที่นิยมใช้ในประเทศไทยได้ตามมาตรฐาน มอก. และ BS EN เนื่องจากมาตรฐาน UL นั้น มีสายไฟฟ้าหลากหลายชนิด ที่สำคัญคือ การกำหนดขนาดตัวนำใช้หน่วย AWG ใขณะที่มาตรฐานที่เราใช้จะระบุเป็น ตร.มม. ทั้งนี้ สายไฟฟ้าแต่ละชนิด จะมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เราก็จะมาอธิบายเพิ่มเติมตามมาตรฐานที่อ้างอิงไว้ในข้างต้น ดังนี้

  1. สายไฟฟ้าชนิด 60227 IEC 02 (THWF) และ H07V-K

            สำหรับตัวสายคอนโทรล thw ชนิดนี้ เป็นชนิดที่สามารถทนแรงดันได้สูงถึง 750 V นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในงานอุตสาหกรรม และงานไฟฟ้าที่ใช้วงจรขนาดใหญ่ เนื่องจากเป็นประเภทที่รองรับการใช้งานในวงจรไฟฟ้าได้ถึง 3 Phase ทำจากทองแดงชนิดสายอ่อน และมี PVC เป็นฉนวน อุณหภูมิในการใช้งานอยู่ที่ 70 องศาเซลเซียส มีขนาดสายไฟฟ้าตั้งแต่ 1.5-240 ตร.มม. ใช้มาตรฐาน TIS 11-2553 หรือ มอก.11-2553

            นอกจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นสายไฟฟ้าชนิด 60227 IEC 02 (THWF) หรือ H07V-K ถึงแม้จะมีชื่อเรียกตามมาตรฐานต่างกัน แต่ถ้าหากนับตามคุณสมบัติและการใช้งานแล้ว สามารถใช้แทนกันได้ เช่น ใช้สาย 60227 IEC 02 (THWF) แทนสาย H07V-K

            ทั้งนี้ การเรียกสายคอนโทรล thw นั้น เป็นชื่อตามมาตรฐานอเมริกา แต่ประเทศไทยนิยมเรียกสายไฟฟ้าที่ผลิตตาม มอก.11-2531 ว่าสายคอนโทรล thw เนื่องจากว่ามีโครงสร้างและลักษณะที่คล้ายกับสายที่รู้จักทั่วไปตามท้องตลาดนั่นเอง

  1. สายไฟฟ้า 60227 IEC 06 (VSF)

            เป็นสายไฟฟ้าที่มีทองแดงชนิดสายอ่อนเป็นตัวนำ และใช้ PVC เป็นฉนวนไฟฟ้า ซึ่งตัวสายไฟรองรับแรงดันได้สูงสุดถึง 500V อุณหภูมิสูงสุดที่ 70 องศาเซลเซียส มีขนาด 0.5-1 ตร.มม. ที่สำคัญคือ เป็นสายที่ตรงตามมาตรฐานของ มอก.11-2553 ดังนั้น ในกรณีที่ไม่มีสาย H05V-K ก็สามารถใช้สาย 60227 IEC 06 (VSF) แทนได้ เนื่องจากว่าเป็นสายที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน และใช้แทนกันได้อยู่แล้ว

  1. สายไฟฟ้าชนิด 60227 IEC 08 (HVSF)

            สำหรับตัวสาย 60227 IEC 08 (HVSF) นั้น เป็นสายที่ใช้ทองแดงชนิดสายอ่อนเป็นตัวนำไฟฟ้า และใช้ PVC เป็นฉนวนไฟฟ้า มีขนาด 0.5-2.5 ตร.มม. ข้อดีของสายไฟฟ้าชนิดนี้คือ รองรับอุณหภูมิได้สูงถึง 90 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าสูงกว่าสายคอนโทรล thw และ สายไฟฟ้า 60227 IEC 06 (VSF)

            นอกจากนี้ ตัวสายไฟฟ้าชนิด 60227 IEC 08 (HVSF) ก็มีข้อดีตรงที่สามารถทนต่อแรงดันไฟฟ้าได้สูงถึง 750 V เหมือนกับสายคอนโทรล thw นั่นเอง

ปัจจัยที่ทำให้สายไฟฟ้ามีความแตกต่างกัน

           สำหรับการทำให้สายไฟฟ้าหรือ Control Cable มีความแตกต่างกันนั้น ต้องอาศัยปัจจัยหลักต่าง ๆ เหล่านี้ คือ ชนิดของฉนวนที่ใช้ การบิดและการตีเกลียว การใช้ชีลด์กันสัญญาณรบกวน รวมถึงฉนวนภายนอก นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ที่ช่วยทำให้สายไฟแต่ละชนิดที่ใช้ในงานระบบไฟฟ้า มีความแตกต่างกันมากยิ่งขึ้น เช่น

  • การเคลือบดีบุกของตัวนำไฟฟ้า
  • ความถี่ที่ใช้พันเกลียว
  • ความละเอียดของเส้นฝอยของตัวนำไฟฟ้า
  • การเพิ่มเส้นใยที่ทำให้สายไฟ หรือ สายคอนโทรลสามารถรับแรงดึงได้มากขึ้น
  • ความถี่ในการพันกลุ่มสายไฟ หรือคอร์
  • เพิ่มสารป้องกันต่าง ๆ เพื่อป้องกันสัตว์กัดแทะสายไฟ
  • การใช้เกราะป้องกันแรงกระแทกที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมภายนอก
  • การใช้วัสดุพิเศษในสายไฟ เพื่อทำให้ใช้งานและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อเกิดเพลิงไหม้
  • การใช้ฉนวนพิเศษ เพื่อช่วยทำให้สายไฟฟ้าปลอดภัยมากขึ้น โดยเฉพาะกรณีเมื่อเกิดเพลิงไหม้

           นอกจากนี้ สายไฟฟ้า หรือ Control Cable ที่ใช้ในประเทศไทยในแต่ละรุ่นนั้น จะเหมือนกันเกือบทุกประการ จะแตกต่างกันในส่วนของชื่อ เนื่องจากว่าเป็นสายไฟฟ้าที่ผลิตจากแบรนด์ที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้น จึงเห็นเหตุผลที่ทำให้สายคอนโทรลมีความแตกต่างกันกับสาย Power ที่วางขายตามท้องตลาดทั่ว ๆ ไป ที่เราเห็นในปัจจุบันนั่นเอง

           อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้ สายไฟฟ้า หรือที่เรียกกันว่า สายคอนโทรล เหล่านี้ ไม่ได้ใช้งานภายในตู้ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปใช้ในอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ได้เช่นกัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและลักษณะของการใช้งานเป็นหลัก ดังนั้น สิ่งสำคัญก่อนเลือกใช้สายไฟฟ้าหรือ Control Cable ก็ต้องดูองค์ประกอบอื่น ๆ ประกอบกัน อาทิ อุณหภูมิ เพราะหากเกินความสามารถที่รองรับ ก็อาจเกิดความเสียหายต่อวงจรไฟฟ้าได้ อย่างเช่น หากต้องการใช้งานสายไฟที่รองรับอุณหภูมิที่สูงมากกว่า 60 องศาเซลเซียส ก็อาจเลือกใช้ สายคอนโทรล thw เป็นต้น