ต่อสายไฟเอง

ก่อนต่อสายไฟด้วยตัวเอง ควรรู้และระวังอะไรบ้าง?

หากต้องการให้บ้านมีระบบไฟฟ้าที่ดี ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ นอกเหนือจากการ ต่อสายไฟฟ้า ให้ได้มาตรฐานแล้ว ควรเลือกใช้สายไฟฟ้าที่ดี และเหมาะสมกับลักษณะที่ใช้งานด้วยเช่นกัน ซึ่งหลาย ๆ คน อาจจะเลือกใช้วิธี ต่อสายไฟ ด้วยตัวเอง เพราะประหยัดงบในกระเป๋ามากกว่าการจ้างช่างไฟฟ้า ทั้งนี้ ก่อนตัดสินใจเดินสายไฟฟ้าภายในบ้านด้วยตัวเอง ควรมาดูก่อนว่ามีข้อควรระวังและมีอะไรบ้างที่ควรรู้ เพื่อความปลอดภัยก่อนดำเนินงาน

ก่อนตัดสินใจ ต่อสายไฟ ภายในบ้านด้วยตัวเอง ควรทำความเข้าใจถึงงานระบบไฟฟ้าและวิธีการดำเนินงานที่ถูกต้อง เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยก่อนทุกครั้ง

  1. ก่อนเริ่ม ต่อสายไฟฟ้า ควรพิจารณาอะไรบ้าง?
  2. การเดินสายไฟแบบฝังผนัง
  3. การเดินสายไฟแบบเดินลอย
  4. สิ่งที่ควรรู้เมื่อต้องการ ต่อสายไฟฟ้า ภายในบ้าน

ก่อนเริ่ม ต่อสายไฟฟ้า ควรพิจารณาอะไรบ้าง?

การต่อสายไฟหรือติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในบ้าน สิ่งสำคัญคือ การคำนึงถึงความปลอดภัยของงานระบบและการดำเนินงาน รวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับตัววงจรภายในบ้าน โดยสิ่งที่นำมาพิจารณาก่อนเริ่มดำเนินงานคือ

  1. ตำแหน่งการติดตั้งเต้ารับ และสวิตช์ไฟฟ้า

                  ควรติดตั้งในจุดที่สูงมากกว่าระดับน้ำที่อาจท่วมได้ โดยเฉพาะบ้านที่มีประวัติเคยโดนน้ำท่วมมาก่อน เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากกระแสไฟฟ้า

  1. วงจรสายไฟย่อยภายในบ้าน

                  ในกรณีที่เต้ารับของบ้านอยู่ระดับที่น้ำเคยท่วมถึง ต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าดูดอย่างเครื่องตัดไฟรั่ว ที่มีขนาดไม่เกิน 30 มิลลิแอมแปร์

  1. การติดตั้งตู้เมนไฟฟ้า

                  ควรติดตั้งเอาไว้ในจุดที่สูงกว่าระดับที่น้ำอาจท่วมได้ เช่น ชั้น 2 ของบ้าน หรือชั้นลอย เพราะจะช่วยทำให้ตัดไฟได้ง่ายและป้องกันอัตรายจากไฟดูด

  1. การเลือกใช้ สายไฟ สำหรับติดตั้งระบบไฟฟ้า

                  สุดท้ายแล้วก่อน ต่อสายไฟ ภายในบ้านด้วยตัวเอง ต้องเลือกชนิดของสายไฟให้เหมาะสมกับจุดที่ต้องการดำเนินงาน ซึ่งสายไฟแต่ละชนิดจะบอกประเภทของการใช้งานอย่างชัดเจน เช่น สายไฟชนิด VAF ต้องใช้เดินเกาะผนัง และเดินในช่องเดินสาย ห้ามร้อยท่อและห้ามฝังดิน ในขณะที่สายแบบ IV สามารถเดินสายลอยได้ แต่ต้องยึดด้วยวัสดุฉนวน เป็นต้น

การเดิน สายไฟ แบบฝังผนัง

สำหรับ ต่อสายไฟ ด้วยวิธีการฝังผนัง เป็นวิธีที่ทำให้บ้านดูเรียบร้อยและสวยงาม เพียงแค่มีขั้นตอนหลายชั้นเพื่อซ่อนสายไฟ เพราะฉะนั้น หากต้องการเดินสายไฟลักษณะนี้ จะต้องวางแผนเรื่องการก่อสร้างให้ดี มีความละเอียดและรอบคอบมากที่สุด ก่อนดำเนินงานเรื่องระบบไฟฟ้า

ทั้งนี้ ข้อเสียของการเดินสายไฟแบบนี้ คือ เรื่องของการซ่อมแซม รวมไปถึงการบำรุงรักษาในอนาคต โดยเฉพาะในกรณีที่บ้านเสื่อมสภาพและ สายไฟ บางเส้นเกิดการชำรุดหรือเสียหาย

  1. การเดินสายไฟแบบฝังผนังเบา

                  วิธีการ ต่อสายไฟ แบบฝังผนังเบาจะมีช่องว่างภายใน เพื่อทำให้เดินสายไฟได้อย่างสะดวกและง่ายมากขึ้น การเดินสายไฟสามารถติดตั้งท่อร้อยสายไฟระหว่างติดตั้งโครงคร่าวฝาผนังได้ หลังจากนั้นจึงค่อยทำการปิดแผ่นผนัง

  1. การเดินสายไฟแบบฝังผนังก่ออิฐ

                  เป็นวิธีการ ต่อสายไฟฟ้า ที่ค่อนข้างยากกว่าการต่อสายในงานผนังเบา ซึ่งวิธีการทำจะต้องกรีดผนังให้เป็นร่อง หลังจากนั้นให้เดินท่อร้อยสายไฟให้เรียบร้อย แล้วให้ฉาบปูนปิดทับพร้อมกับติดลวดกรงไก่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแตกร้าวที่ผิวปูนฉาบ

เดินสายไฟเอง

การเดินสายไฟแบบเดินลอย

                  การเดินสายไฟรูปแบบนี้ถือว่าค่อนข้างได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน เพราะมีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ใช้งบประมาณที่น้อยกว่าแบบฝังผนัง ซึ่งการเดินสายไฟแบบเดินลอยจะใช้ท่อร้อยสายไฟเป็นตัวช่วย เพื่อทำหน้าที่ป้องกันสายไฟฟ้าและช่วยให้ใช้งานได้อย่างยาวนานมากขึ้น

                  ทั้งนี้ ข้อจำกัดของการ ต่อสายไฟ แบบนี้ก็มีอยู่เช่นกัน คือ ต้องมีความประณีตสูงในการติดตั้ง ทั้งแบบตีกิ๊บหรือแม้แต่การติดตั้งแบบท่อ เพื่อให้รูปแบบของการเดินสายไฟมีความสวยงาม

  1. การ ต่อสายไฟ ในท่อร้อยสายไฟ

                  เป็นวิธีการเดินสายไฟเข้าไปในท่อพลาสติก PVC หรือโลหะ ที่มีความแข็งแรงและทนทาน โดยการติดตั้งจะเป็นการยึดติดกับผนังบ้าน วิธีการนี้มีข้อดีคือปลอดภัยต่อสายไฟ หากเกิดปัญหาก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย ๆ เมื่อติดตั้งแล้วก็สามารถทาสีทับตัวท่อ เพื่อทำให้ท่อมีความกลมกลืนกับผนังบ้าน รวมถึงจุดวางปลั๊กไฟได้เลย ทำให้บ้านดูเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น

  1. การเดินสายไฟแบบตีกิ๊บ

                  นับว่าเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากใช้งบในการ ต่อสายไฟ ที่น้อยที่สุด ทั้งยังมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง ที่สำคัญคือ สามารถซ่อมแซมในกรณีที่เกิดปัญหาได้ง่ายที่สุด เพียงแต่ต้องทำการรีดสายให้เรียบ แล้วให้นำมาติดกับเข็มขัดรัดสายไฟ เพื่อให้เป็นแนวระนาบเดียวกับผนังบ้าน โดยจะต้องมีระยะห่างกันประมาณ 10 ซม.    

โดยปกติแล้วการเดินสายไฟแบบตีกิ๊บ จะมีประมาณ 1 – 4 เส้น และต้องใช้ความประณีตในการดำเนินงาน เพราะจะต้องทำให้ทุกจุดแน่นพอดีกัน หากมีจุดใดจุดหนึ่งที่หลวมหลังจากติดไปแล้ว ก็จะต้องแก้ไขส่วนอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ การเดินสายไฟแบบตีกิ๊บ จะต้องมีการเรียงสายและรีดสายไฟให้เรียบ ก่อนใช้เข็มขัดรัดสายไฟ

สิ่งที่ควรรู้เมื่อต้องการ ต่อสายไฟฟ้า ภายในบ้าน

  1. การเลือก ท่อร้อยสายไฟ

                  โดยปกติแล้วท่อร้อยสายไฟสำหรับการ ต่อสายไฟ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ท่อพลาสติก และท่อโลหะ ซึ่งทั้งสองแบบจะมีความต่างกัน โดยเฉพาะในเรื่องของราคาและคุณภาพในการใช้งาน

  • ท่อโลหะชนิดบาง EMT เป็นท่อที่ผ่านการชุบสังกะสีมาอย่างดี ไม่ควรใช้ฝังดินหรือคอนกรีต
  • โลหะชนิดกลาง IMC มีความใหญ่และหนามากกว่าแบบบาง นิยมใช้ในการเดินลอยนอกบ้านและฝังในผนัง
  • ท่อโลหะแบบหนาพิเศษ RSC นิยมใช้ ต่อสายไฟ นอกบ้านหรือฝังในผนัง
  • ท่อโลหะอ่อน EFF-Squarelocked มีลักษณะหมุนเป็นเกลียว ยืดหยุ่นสูง มีความทนทาน
  • ท่อโลหะอ่อนกันน้ำ LFMCL หุ้มด้วย PVC ค่อนข้างทนต่อความชื้น จึงนิยมใช้ในพื้นที่ที่อันตราย
  • ท่อพลาสติก หรือ PVC สามารถทนทานต่อความชื้นและไฟฟ้าได้ดี นิยมใช้กับบ้านเรือนทั่วไป
  • ท่อ HDPE มีขนาด 2 นิ้วขึ้นไป ทำจากพลาสติกที่มีความหนาแน่นสูง นิยมใช้เดินสายใต้ดิน
  • ท่อ EFLEX หรือก็คือ HDPE แต่มีลักษณะเป็นปล้อง เรียกอีกอย่างว่าแบบลูกฟูก
  1. การรีดสายไฟ

                  วิธีการรีดสายไฟเพื่อทำการ ต่อสายไฟ จะทำให้สายไฟที่ได้มีความตรงและสวยงามมากขึ้น เมื่อนำไปติดตั้งร่วมกับเข็มขัดรัดสายไฟก็จะทำให้การติดตั้งแน่นหนา ซึ่งวิธีการจะใช้ผ้าชุบน้ำคลุมเส้น แล้วนำมือดึงเพื่อคลี่สายให้ได้ระยะตามที่ต้องการใช้งาน นอกจากนี้ ยังมีเทคนิคอื่น ๆ ที่ช่วยรีดสายไฟด้วย ขึ้นอยู่กับว่าชื่นชอบเทคนิคไหนมากที่สุด

  1. การเปลี่ยนสายไฟใหม่ก่อน ต่อสายไฟ

                  โดยขั้นตอนการเปลี่ยนสายไฟจะใช้วิธีการตรวจสอบแบบง่าย ๆ เพียง 2 วิธี นั่นก็คือ การดูจากอายุของการติดตั้งว่าอยู่ในระยะ 15 – 20 ปีหรือไม่ เพราะเป็นอายุในการใช้งานของสายไฟโดยทั่ว ๆ ไป และอีกวิธีก็คือ การสังเกตจากสภาพสายไฟภายนอก

วิธีเช็กเบื้องต้นคือ ในกรณีที่ติดตั้งการเดินสายมาแล้ว 5 – 10 ปี ให้ทำการถอดแผงสวิตช์และปลั๊กไฟออก หลังจากนั้นให้ดูว่าสายไฟยังปกติดีหรือไม่ หากจับแล้วเริ่มแตกลาย แข็งกรอบ หรือจับแล้วงอ จะต้องดำเนินการเปลี่ยนสายไฟก่อน ต่อสายไฟ นั่นเอง

  1. การตรวจสอบระบบของการเดินสายไฟ
  • เช็กมิเตอร์ไฟฟ้า โดยจะต้องทำการปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด แล้วดูว่ามิเตอร์มีการเคลื่อนไหวหรือไม่
  • เช็กตัวปลั๊กไฟด้วยไขควงไฟฟ้า ซึ่งหากมีไฟแสดงก็แสดงว่าปลั๊กปกติ แต่หากไม่แสดงผลแสดงว่าปลั๊กไม่มีวงจรไฟฟ้าไหลผ่าน
  • เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเมื่อเปิดการทำงานแล้วมีไฟฟ้าสถิตหรือไม่ หากมีแสดงว่ามีการรั่วของไฟภายในบ้าน และต้องให้ช่างที่มีความเชี่ยวชาญมาตรวจเช็กให้ ห้ามเริ่มดำเนินการต่อระบบสายไฟเด็ดขาด
  1. ข้อควรระวังก่อนดำเนินงาน
  • เช็กร่างกายและอุปกรณ์ให้ดี เครื่องมือต้องมีคาวมพร้อม ไม่ชำรุด แตกหัก
  • ในระหว่างการปฏิบัติงานมือและเท้าต้องแห้ง พร้อมสวมรองเท้าสำหรับการทำงานที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า
  • ควรใช้รางไฟเพื่อป้องกันสายไฟฟ้าชำรุดเสียหาย และยังช่วยให้ง่ายต่อการดำเนินงาน
  • ควรหมั่นตรวจสอบฉนวนสายไฟฟ้า และอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะตรงขั้วต่ออุปกรณ์ให้ละเอียด
  • การเดินสายไฟไม่ควรนำฟิวส์ที่โตกว่าขนาดที่ใช้ในปัจจุบันมาใช้
  • ก่อนจ่ายกระแสไฟฟ้าควรตรวจสอบวงจรให้ดีและละเอียด
  • หลักการเดินสายไฟควรแยกวงจรให้เป็นส่วน ๆ ไม่ควรเดินสายไฟทุกเส้นให้อยู่ในสวิตช์ตัวเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ก่อนการ ต่อสายไฟฟ้า ภายในบ้านด้วยตัวเอง หากไม่มีความเชี่ยวชาญหรือไม่ได้มีความรู้เรื่องระบบไฟฟ้า ยังไม่แนะนำให้ ต่อสายไฟ ด้วยตัวเอง เพราะค่อนข้างเสี่ยงและอันตราย แต่หากคุณมีความรู้เรื่องงานระบบไฟฟ้าอยู่แล้วก็สามารถดำเนินการได้ เพียงแค่ต้องศึกษาเรื่องมาตรฐานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องการใช้ รวมถึงประเภทการใช้งานที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้ระบบงานไฟฟ้าที่ดี สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และไม่มีปัญหาจากวงจรไฟฟ้าในอนาคตนั่นเอง

อ่านบทความอื่นที่เกี่ยวข้อง