การเลือกใช้ ประเภทท่อร้อยสายไฟ ให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน โดยเฉพาะการเดินสายไฟภายในตัวอาคารบ้านเรือนนั้น นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะ ท่อร้อยสาย แต่ละประเภทนั้น ก็จะมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งก็ย่อมส่งผลต่อความปลอดภัยในการดำเนินงาน รวมถึงป้องกันอันตรายต่าง ๆ ทั้งเรื่องไฟฟ้าดูด ไฟฟ้ารั่ว หรือแม้แต่ไฟฟ้าลัดวงจร ทั้งนี้ เราจะพาคุณมาแยกประเภทและทำความรู้จักกับท่อร้อยสายไฟ ว่าแต่ละแบบควรใช้งานอย่างไร มีข้อห้ามอะไรบ้างที่ควรรู้

การเลือกใช้ ท่อร้อยสาย เพื่อนำมาใช้งานในระบบไฟฟ้าภายในตัวอาคารและบ้านเรือน นอกจากจะทำให้สายไฟเป็นระเบียบแล้ว ยังช่วยป้องกันสายไฟจากอันตรายต่าง ๆ ได้ด้วย

  1. การเดินสายไฟในท่อมีข้อดี-ข้อเสีย อย่างไรบ้าง?
  2. รวม 7 ประเภทท่อร้อยสายไฟ ที่ควรรู้จัก

การเดินสายไฟในท่อมีข้อดี-ข้อเสีย อย่างไรบ้าง?

  1. ข้อดีของการใช้ ท่อร้อยสายไฟ
  • ช่วยป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับสายไฟ เช่น การโดนสัตว์กัดแทะ จนทำให้สายไฟขาดหรือชำรุด
  • ทำให้อาคารและผนังมีความสวยงาม ดูไม่รกหูรกตา และมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
  • ป้องกันปัญหาไฟไหม้ได้ เช่น หากเกิดกรณีที่ไฟฟ้าลัดวงจร ตัวประกายไฟที่เกิดขึ้น จะถูกจำกัดให้อยู่เฉพาะในท่อ
  1. ข้อเสียของการใช้ ท่อร้อยสาย
  • ใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานมากกว่าการเดินสายไฟรูปแบบอื่น เช่น แบบเปลือย
  • ใช้งบประมาณและค่าใช้จ่ายสูงกว่า เพราะต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มมากขึ้น
  • การซ่อมหรือเพิ่มสายไฟมีความยุ่งยาก

ท่อร้อยสายไฟ

รวม 7 ประเภทท่อร้อยสายไฟ ที่ควรรู้จัก

สำหรับ ประเภทท่อร้อยสายไฟ ที่ใช้ในงานระบบไฟฟ้า สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ นั่นก็คือ ท่อที่ทำจากโลหะ และท่อที่ไม่ใช่โลหะหรือท่อพลาสติก ซึ่งรวมแล้วจะมีทั้งหมด 7 ประเภทด้วยกัน ดังต่อไปนี้

  1. ท่อโลหะขนาดบาง EMT

                  ท่อโลหะชนิดบาง หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า EMT (Electrical Metallic Tubing) เป็น ท่อร้อยสาย ที่ทำจากแผ่นเหล็กกล้าชนิดรีดเย็น รีดร้อน หรือที่ถูกเคลือบจากสังกะสี โดยตัวท่อจะมีความมันและวาว ไม่สามารถบิดหรือทำเป็นเกลียวได้ ตัวท่อจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 15 – 50 มิลลิเมตร มีความยาวประมาณ 10 ฟุต หรือราว ๆ 3 เมตร

                สำหรับตัว ท่อร้อยสาย EMT ตามมาตรฐานแล้วจะกำหนดให้ใช้ตัวอักษรสีเขียว ในการระบุชนิดและขนาดของท่อ โดยท่อประเภทนี้จะนิยมใช้กับงานเดินสายไฟประเภทซ่อนในฝ้าเพดานและแบบเดินลอย ไม่ควรใช้ในงานฝังดินหรือฝังในพื้นคอนกรีตโดยเด็ดขาด รวมไปถึงสถานที่ที่อันตราย มีระบบแรงสูง หรือจุดที่อาจเกิดความเสียหายในทางกายภาพได้

                  ทั้งนี้ ในการใช้งาน ท่อร้อยสาย EMT ที่ดีและสมบูรณ์ จะต้องยึดท่อโดยไม่เกินระยะ 300 เซนติเมตร และในระยะ 90 เซนติเมตร นับจากกล่องต่อสาย กล่องแยกสาย หรือแม้แต่กล่องควบคุม ต้องมีการใช้อุปกรณ์จับยึด ส่วนกรณีที่เดินสายเข้ากับกล่องต่อสาย ควรใช้บุชชิ่งและล็อคนัทด้วย

  1. ท่อโลหะขนาดกลาง IMC

                  สำหรับ ท่อร้อยสาย IMC (Intermediate Conduit) นับว่าเป็นท่อโลหะชนิดหนึ่ง โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 15 – 100 มิลลิเมตร มีความยาวท่อนละประมาณ 10 ฟุต เท่า ๆ กัน  เป็นท่อที่เคลือบด้วยอีนาเมล จึงทำให้ผิวมีความเรียบทั้งภายในและภายนอก มีความมันวาวในระดับหนึ่ง ตัวปลายท่อมีการทำเกลียวเอาไว้ทั้ง 2 ด้าน

โดยมาตรฐานของตัวท่อถูกกำหนดให้ใช้ตัวอักษรสีส้ม (ในบางครั้งอาจเห็นเป็นสีแดง) ที่จะระบุทั้งขนาดและชนิดของท่อ ทั้งนี้ ตัวท่อจะใช้ในงานเดินลอยนอกอาคาร ฝังผนัง หรือพื้นคอนกรีตได้

  1. ท่อร้อยสาย RSC

                  โดยท่อร้อยสายไฟ RSC (Rigid Steel Conduit) นับว่าเป็น ประเภทท่อร้อยสายไฟ อีกหนึ่งชนิดที่ทำด้วยแผ่นเหล็กกล้า ที่ถูกเคลือบผิวทั้งภายนอกและภายในด้วยสังกะสี ส่งผลให้มีความเรียบเสมอกัน โดยท่อชนิดนี้จะมีความหนามากกว่าท่อแบบ EMT และ IMC ตัวปลายท่อจะมีการทำเกลียวเอาไว้ทั้ง 2 ด้าน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 – 150 มิลลิเมตร

                  โดยตัวท่อจะใช้ตัวอักษรสีดำในการระบุชนิดและขนาดตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ความยาวมีขนาดเท่า ๆ กันกับ ท่อร้อยสายไฟ 2 ชนิดแรก นิยมใช้กับงานเดินท่อนอกอาคาร ฝังผนัง รวมถึงพื้นคอนกรีต ซึ่งเป็นท่อที่ผ่านการชุบ Hot-Dip Galvanized จึงทำให้สามารถนำไปใช้งานแทนท่อชนิดบาง รวมถึงท่อชนิดหนาปานกลางได้เลย ที่สำคัญคือ สามารถใช้ในสถานที่ที่มีความอันตรายและฝังดินได้

  1. ท่อโลหะชนิดอ่อน

                  ท่อโลหะชนิดอ่อน (Flexible Metal Conduit) เป็น ท่อร้อยสาย ที่ทำมาจากแผ่นเหล็กกล้า ตัวผิวภายนอกและภายในท่อถูกเคลือบด้วยสังกะสี เป็นท่อที่มีความอ่อนตัว สามารถดัดและโค้งงอได้ จึงนิยมใช้กับการป้องกันไม่ให้สายไฟถูกขีดข่วน หรือโดนฝุ่นควันต่าง ๆ มากกว่า อาทิ โรงงาน ภายในตึกอาคารสูง หรือกับงานที่มีเครื่องจักรสั่นสะเทือน

                  สำหรับท่อโลหะชนิดอ่อนมีให้เลือกใช้ตั้งแต่ขนาด ½ – 4 นิ้ว นิยมใช้ในสถานที่ที่แห้งและสามารถเข้าถึงได้ง่าย ไม่ควรใช้ในจุดที่เปียกและมีความอับชื้น รวมไปถึงห้องเก็บของ และช่องสำหรับขึ้น-ลง รวมถึงสถานที่ที่อันตราย ทั้งนี้ การติดตั้งท่อจะต้องมีการจับยึดท่อด้วยระยะห่างของอุปกรณ์ไม่เกิน 1.50 เมตร และไม่เกิน 30 เซนติเมตร สำหรับระยะห่างจากกล่องต่อสาย

  1. ท่อโลหะอ่อนกันน้ำ

โดยท่อโลหะอ่อนกันน้ำ (Rain tight Flexible Metal Conduit) เป็น ท่อร้อยสาย ประเภทโลหะที่มี PVC เป็นเปลือกหุ้มด้านนอก เพื่อช่วยไม่ให้สายไฟโดนความชื้น หรือป้องกันไม่ให้ความชื้นเข้าไปภายในท่อ จึงทำให้ท่อประเภทนี้เหมาะกับการใช้งานในจุดที่ต้องการความอ่อนของท่อเป็นหลัก เพื่อให้ช่วยป้องกันสายไฟฟ้าชำรุดหรือเสียหาย โดยเฉพาะจากของเหลวหรือของแข็งต่าง ๆ ในที่ที่อันตราย เช่น จุดที่มีความเปียกชื้น หรือคราบน้ำมัน

อย่างไรก็ตาม การใช้งาน ประเภทท่อร้อยสายไฟ ชนิดนี้ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง นั่นก็คือ ห้ามใช้ในจุดที่อุณหภูมิของสายไฟสูงมากเกินไป จนอาจส่งผลให้ท่อมีความเสียหายได้ โดยเฉพาะกับตัวพลาสติก PVC

  1. ท่อพลาสติก PVC

                  ท่อร้อยสาย PVC นั้น ตัวท่อมีขนาดตั้งแต่ ½ – 4 นิ้ว ความยาวเฉลี่ยอยู่ที่ท่อนละ 4 เมตร ทนความร้อนได้สูงสุดที่ 60 องศา เป็นท่อที่มีคุณสมบัติต้านเปลวไฟ แต่ในกรณีที่ถูกไฟไหม้จะก่อให้เกิดก๊าซพิษ ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายต่อมนุษย์พอสมควร ทั้งนี้ตัวท่อ PVC จะแบ่งออกเป็น 2 สี คือ สีเหลืองที่ใช้สำหรับการเดินท่อในผนัง และท่อสีขาวที่ใช้สำหรับการเดินท่อแบบลอย

นอกจากนี้ ท่อพลาสติก PVC ยังไม่ทนต่อแสงอัลตราไวโอเลต หรือรังสี UV จึงทำให้เกิดความกรอบได้ง่าย โดยเฉพาะในกรณีที่ติดตั้งในจุดที่เผชิญกับแสงแดด ที่สำคัญคือ ไม่ควรใช้กับจุดที่อาจเกิดความเสียหายทางกายภาพ

  1. ท่อร้อยสาย HDPE

                  อีกหนึ่ง ท่อร้อยสาย ที่ทำจากพลาสติกก็คือ ท่อ HDPE (High Density Polyethylene) ซึ่งทำจากพลาสติก Polyethylene ชนิด High Density ซึ่งเป็นท่อที่มีคุณสมบัติต้านเปลวไฟ มีความแข็งแรงสูงพอสมควร และยังมีความยืนหยุ่นได้ดี มีให้เลือกใช้ทั้งแบบผิวเรียบและแบบลูกฟูก

                  โดยท่อเดินสาย HDPE จะนิยมใช้ในที่โล่ง บนฝ้าในอาคารบ้านเรือน หรือแม้แต่การใช้เดินสายใต้ดินที่มีทั้งแรงดันต่ำและสูงปานกลาง นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติที่ทนต่อแรงอัดได้ดี มีความอ่อนตัวสูง ไม่ต้องดัดท่อก่อนใช้งาน จึงทำให้การเดินท่อสะดวกมากขึ้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นจุดเด่นของท่อชนิดในบรรดา ประเภทท่อร้อยสายไฟ

            ในบรรดา ประเภทท่อร้อยสายไฟ ทั้ง 7 ประเภทนั้น ก็นับว่ามีจุดเด่นและการใช้งานที่แตกต่างกันพอสมควร ทั้งนี้ หากคุณอยากจะใช้ ท่อร้อยสาย ก็ควรศึกษางานระบบไฟฟ้าจุดที่ต้องการใช้ให้ดี เพื่อให้ง่ายต่อการเลือกท่อสำหรับร้อยสายไฟเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องความทนทานและสถานที่ที่สามารถนำไปใช้งานได้ ทั้งนี้ ก่อนจะเลือกซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ก็ควรศึกษาเรื่องมาตรฐานด้วย เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพมากที่สุด