การเลือกใช้ สายไฟ สำหรับบ้านหรือที่พักอาศัย นอกเหนือจากการเลือกประเภทของสายไฟให้เหมาะสมสำหรับจุดที่ติดตั้งและการใช้งานแล้ว ต้องติดตั้งให้ถูกต้องด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งในปัจจุบันนี้สายไฟที่ใช้ในบ้านเรือนก็มีหลากหลายประเภท โดยแต่ละประเภทก็จะมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น สายไฟ THW, สายไฟ VCT และประเภทอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งเราจะมาอธิบายว่าสายไฟแต่ละประเภทนั้นเหมาะสมกับการใช้งานในลักษณะใดบ้าง โดยเฉพาะการใช้งานภายในอาคารและบ้านเรือน
สำหรับประเภทของสายไฟที่นิยมใช้ในปัจจุบันนั้น แต่ละชนิดจะมีลักษณะและความเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ดังนั้นจึงเป็นข้อสำคัญสำหรับการเลือกใช้สายไฟให้เหมาะสมกับระบบไฟฟ้า
- 3 ประเภทของ สายไฟ ที่นิยมใช้ภายในบ้าน
- ก่อนติดตั้งสายไฟภายในบ้าน ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง
3 ประเภทของ สายไฟ ที่นิยมใช้ภายในบ้าน
-
สายไฟฟ้า THW-A
สำหรับสายไฟฟ้า THW-A นี้ เป็นสายไฟที่ใช้อลูมิเนียมตีเกลียวเป็นตัวนำไฟฟ้า แล้วหุ้มด้วย PVC เป็นฉนวนไฟฟ้า โดยตัวสายไฟจะเป็นสายแกนเดี่ยว เหมาะสมกับการใช้งานที่มีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 750 โวลต์ และสามารถรองรับอุณหภูมิในการใช้งานได้สูงสุดอยู่ที่ 70 องศาเซลเซียส
นอกจากนี้ ตัว สายไฟ THW-A ยังมีข้อดีคือ น้ำหนักค่อนข้างเบา จึงส่งผลให้ได้รับความนิยมในการเดินลอยในอากาศ หรือบนเสาไฟฟ้าเข้าบ้านเป็นหลัก ทั้งนี้ ลักษณะของการใช้งานสายไฟชนิดนี้ จะมีข้อกำหนดคือและข้อบ่งชี้ในการใช้งาน คือ
- ในกรณีที่เดินลอยในอากาศต้องใช้บนฉนวนลูกตุ้มหรือลูกถ้วย
- หากต้องการใช้เป็นสายเมน ต้องติดตั้งภายนอกอาคาร ไม่ควรติดตั้งในอาคารอย่างเด็ดขาด
- เดินลอยในอากาศ หรือบนเสาไฟฟ้าเข้าบ้าน
- ใช้สำหรับการเดินสายไฟแบบชั่วคราว
-
สายไฟ 60227 IEC 01 ( สายไฟ THW )
สำหรับสายไฟชนิด 60227 IEC 01 (THW) นี้ เป็นสายไฟฟ้าชนิดแกนเดี่ยว โดยตัวสายจะใช้ทองแดงเส้นเดี่ยวหรือแบบตีเกลียวเป็นตัวนำไฟฟ้า ซึ่งแรงดันไฟฟ้าจะอยู่ที่ 450/750 โวลต์ สามารถรองรับอุณหภูมิในการใช้งานได้สูงสุดที่ 70 องศาเซลเซียส โดยการใช้งานส่วนมากจะนิยมใช้เดินสายในอาคารทั่วไป หรือแม้แต่ภายในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก
ทั้งนี้ การติดตั้งและใช้งานสายไฟ 60227 IEC 01 (THW) นั้น โดยหลัก ๆ คือจะใช้งานทั่วไปตามอาคารและบ้านเรือน นอกจากนี้ ยังสามารถจำแนกการใช้งานในเชิงลึกตามการติดตั้ง ได้ดังนี้
- ในกรณีที่ใช้สายไฟในช่องเดินสาย ต้องป้องกันไม่ให้น้ำเข้าช่องเดินสายด้วย
- ห้ามร้อยท่อฝังดิน หรือใช้สาย 60227 IEC 01 (THW) ฝังดินเด็ดขาด
- ห้ามใช้งานหรือติดตั้งบนรางเคเบิล ยกเว้นใช้เป็นสายดิน
-
สายไฟฟ้า VAF
โดยสายไฟฟ้าชนิด VAF นี้ จะเป็นสายไฟชนิดแบน โดยใช้ทองแดงแบบเส้นเดี่ยวหรือแบบตีเกลียวเป็นตัวนำไฟฟ้า จะมีเปลือกฉนวนหุ้มสายไฟเป็นสีขาว ทำจาก PVC สามารถแบ่งสายไฟ VAF ได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ชนิด 2 แกน หรือที่เรียกว่าสายคู่ VAF และแบบ 3 แกน หรือสายคู่มีกราวน์ VAF-G
สำหรับสายไฟ VAF ลักษณะทั่ว ๆ ไปตามการใช้งานคือ มีพิกัดแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 300/500 โวลต์ อุณหภูมิที่รองรับได้สูงสุดอยู่ที่ 70 องศาเซลเซียส โดยทั่วไปแล้วนิยมใช้สำหรับการเดินไฟภายในบ้านเรือน นอกจากนี้ การใช้งานสายไฟฟ้า VAF ก็มีข้อกำหนดในการใช้งานและการติดตั้งด้วยเช่นกัน คือ
- ในกรณีเดินสายไฟภายในบ้าน ต้องเดินสายไฟเกาะผนังแบบตีกิ๊บ
- หากเดินสายไฟในช่องเดินสาย ห้ามร้อยท่อเด็ดขาด
- ไม่ควรใช้สายไฟ VAF ฝังดิน
Tips: สำหรับสายไฟฟ้าในกลุ่มที่เรียกว่า Household ที่ใช้สำหรับการติดตั้งหรือใช้งานภายในบ้านเรือนที่อยู่อาศัยนั้น โดยหลักการแล้วจะมีแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 300-750 โวลต์ ได้แก่ สายไฟแบบ 60227 IEC01 (THW) สายไฟ VCT, VAF และสายประเภท NYY
ก่อนติดตั้งสายไฟภายในบ้าน ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง
โดยทั่วไปแล้วการติดตั้งสายไฟหรือเดินสายไฟภายในบ้านเรือน ลักษณะของระบบไฟฟ้าที่ใช้กันทั่วไปคือกระแสสลับระบบ 1 เฟส 2 สาย โดยมีแรงดัน 220 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ ซึ่งสายไฟที่ใช้ในระบบจะมี 2 สายหลัก ๆ คือ สายหนึ่งที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ โดยจะเรียกว่าสายเคอร์เรนต์ (Current Line) และอีกสายคือ สายนิวทรัล (Neutral Line) โดยจะเป็นสายที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่
นอกจากนี้ ในส่วนของระบบไฟฟ้า 3 เฟส จะเป็นระบบไฟฟ้าที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก แต่ในกรณีที่นำระบบไฟฟ้า 3 เฟส มาใช้กับบ้านเรือนจะแบ่งออกเป็น ระบบไฟฟ้า 1 เฟส 3 ชุด เพื่อกระจายไฟฟ้าไปตามจุดต่าง ๆ จะทำให้ไฟฟ้าแต่ละเฟสไม่ถูกใช้งานมากจนเกินไป จึงนำมาสู่การทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีการติดตั้ง สายไฟฟ้า ชนิดใดก็ตาม สิ่งที่ต้องคำนึงก่อนติดตั้งก็มีทั้งหมด 4 ประเด็นหลัก ๆ เลย คือ
-
ตำแหน่งที่ใช้ติดตั้งสวิตช์ และเต้ารับ
โดยทั่วไปแล้วการติดตั้งสวิตช์และเต้ารับภายในอาคารบ้านเรือน จะต้องติดตั้งโดยให้อยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าระดับที่น้ำอาจทั่วถึงได้
-
วงจรสายไฟย่อยภายในบ้าน
สำหรับตัววงจรสายไฟย่อยนั้น ตัวเต้ารับที่อยู่ชั้นล่างจะต้องอยู่ในพื้นที่ที่ไม่เคยมีประวัติน้ำท่วม หรือน้ำท่วมไม่ถึงจุดที่ติดตั้ง นอกจากนี้ ต้องมีการป้องกันไฟฟ้าดูดด้วยการใช้เครื่องตัดไฟรั่ว หรือที่เรียกว่าตัวกันดูด โดยต้องไม่เกิน 30 มิลลิแอมแปร์
-
การติดตั้งตู้เมนไฟฟ้า
การติดตั้งตู้เมนไฟฟ้าที่ถูกต้องนั้น ต้องติดตั้งไว้ที่ชั้นลอย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือชั้น 2 ของบ้าน เนื่องจากจะช่วยรับมือกับปัญหาในกรณีที่ที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมได้ เช่น ตัดไฟเฉพาะบริเวณชั้น 1 ของบ้าน เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายจากการถูกไฟดูด เป็นต้น
-
การเดินสายไฟสำหรับบ้านชั้นเดียว
ในกรณีที่เป็นบ้านชั้นเดียว ให้ติดตั้งตู้เมนไฟฟ้าโดยให้บริเวณขอบล่างอยู่สูงจากพื้นไม่ต่ำกว่า 1.6 เมตร ส่วนบ้านหรืออาคารที่มี 2 ชั้นขึ้นไป ควรแยกวงจรสายไฟภายในบ้านอย่างน้อยชั้นละ 1 วงจร เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาและตัดไฟเฉพาะชั้นใดชั้นหนึ่งได้นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้ สายไฟ แต่ละชนิดให้เหมาะสมกับงานแต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็น สายไฟ THW, สายไฟ VCT, VAF และประเภทอื่น ๆ แต่สุดท้ายแล้วสิ่งสำคัญคือ ผู้ที่จะติดตั้งสายไฟภายในบ้าน ต้องเป็นช่างผู้ชำนาญการที่มีประสบการณ์ในด้านนี้เท่านั้น และต้องเลือกใช้สายไฟให้ถูกประเภทกับการใช้งาน ผ่านการรับรองมาตรฐาน เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายทั้งต่อการดำเนินงานเกี่ยวกับระบบไฟ หรือแม้กระทั่งการใช้ไฟฟ้าของสมาชิกในบ้าน ดังนั้น หากไม่มีความรู้ด้านระบบไฟฟ้า ก็ไม่ควรดำเนินการติดตั้งสายไฟด้วยตัวเองเป็นอันขาด